วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว วัดเจดีย์หอย

กลับหน้าหลัก

วัดเจดีย์หอย

          วัดชื่อดังของจังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลบ่อเงินอำเภอลาดหลุมแก้ว สิ่งที่โดดเด่นของวัดนี้ คือ เจดีย์หอยขนาดสูง สร้าง ความตื่นตะลึงให้แก่ผู้พบเห็นอันมาก มีอยู่ด้วยกัน 2 องค์ องค์แรกอยู่ปากทางเข้าวัด องค์ที่สองอยู่ในบริเวณวัด  นอกจากนี้ใน บริเวณวัดยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางเกษตรสวนสมุนไพรว่านยา พิพิธภัณฑ์เรือยาวและบึงน้ำขนาดใหญ่มีปลาสวายที่ทางวัดเลี้ยง อยู่เป็นจำนวนมาก และบ่อเต่าอยู่ข้าง ๆ บึง นักท่องเที่ยวสามารถซื้ออาหารเลี้ยงปลาและเต่าได้


ประวัติวัดเจดีย์หอย


         วัดแห่งนี้เพิ่งจะสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยท่านพระครูสุนทร คุณธาดาหรือหลวงพ่อทองกลึง สุนทโรเป็นผู้สร้างครับ ประวัติของ ทางวัดก็มีความน่าสนใจมากเพราะเกิดมาจาการที่หลวงพ่อท่านได้ไปธุดงค์ที่ประเทศพม่าพบพระอาจารย์ศิลบันตะหนึ่งพรรษา ก็ได้ ศึกษาวิชาอาคมจนแตกฉานจึงธุดงค์กลับมาที่ถ้ำโอ่งจุก อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรีซึ่งเป็นที่จุดกำเนิดให้ท่าเกิดนิมิตเห็นว่าในสถาน ณ ปัจจุบัน เมื่อ 8 ล้านปีเป็นเมืองใหญ่ ชื่อเมืองรัตนาวดี และหลวงพ่อท่านเองก็เป็นเจ้าเมืองครองเมืองอยู่ที่นี่ ท่านจึงเดินทาง มาตาม หาตามนิมิตจนพบ และมีความตั้งใจจะสร้างพื้นดินแห่งนี้ให้เป็นบริเวณอารามวัดขณะที่กำลังขุดบึงบอเพื่อ ไว้เป็นที่กักเก็บน้ำ ไว้ รดพืชสมุนไพร ก็ทำให้มาเจอกับเปลือยหอยนางรมยักษ์ที่ฝังตัวอยู่ใต้พื้นดิน และมีอายุนับพันๆปีจำนวนมหาศาล และท้ายที่สุดก็นำ เปลือยหอยนางรมยักษ์ที่ค้นพบมาสร้างเป็นเจดีย์และให้ชื่อว่า“วัดเจดีย์หอย”มาจนทุกวันนี้

ที่ตั้ง : เลขที่ 73 หมู่ 4 ต.บ่อเงิน อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
เบอร์โทรศัพท์ 0-2599-3057, 0-2599-3963, 0-2599-4247, 0-2581-82




แผนที่





ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบทดสอบก่อนเรียน วิชา การใช้ซอฟท์แวร์ทางธุรกิจ

แบบทดสอบก่อนเรียน
รหัสวิชา BIT2250      วิชา การใช้ซอฟท์แวร์ทางธุรกิจ

1.จงให้คำนิยามของคำศัพท์ต่อไปนี้
   1.1. Operating System หมายถึง เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าทีจัดการกับโปรแกรมต่างๆในคอมพิวเตอร์
   1.2. DBMS (Data Base Management System) หมายถึง  ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการฐานข้อมูล ช่วยในการสร้างฐานข้อมูล เพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล เรียกใช้ข้อมูล และปรับปรุงฐานข้อมูล
   1.3. Application Software หมายถึง  โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงานอย่างหนึ่ง
   1.4. Package Software หมายถึง  ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ
   1.5. Open Source หมายถึง  วิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้
   1.6. Freeware หมายถึง 
 เป็นโปรแกรมที่ได้รับการเสนอไม่มีต้นทุนและชั้นธรรมดาของโปรแกรมประยุกต์ที่มีให้สำหรับการดาวน์โหลดและใช้ระบบปฏิบัติการทั่วไป
   1.7. Utility Software หมายถึง 
โปรแกรมที่ช่วยให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือเสริมโปรแกรมการใช้งานอื่นๆ ให้สะดวก และรวดเร็ว 
   1.8. CMS(Content Management System) หมายถึง 
ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ 
   1.9 LMS (Lernning Management System) หมายถึง
 ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย 
1.10 Cloud computing หมายถึง
วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้


2. ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้  

2.1 ยกตัวอย่าง ระบบปฎิบัติการที่นักศึกษารู้จักมา 3 ระบบปฎิบัติการ พร้อมบอกข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ Linux ข้อดี ไม่มีลิขสิทธิ์
                                                       ข้อเสีย การใช้งานยาก
ระบบปฏิบัติการ Windows 8   ข้อดี มีการประมวลด้วยความเร็วสูง  
ข้อเสีย เป้นวินโดว์ที่ไม่ซัพพอตต่อบางโปรแกรม
ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ข้อดี สะดวก ใช้งานง่ายและเป้นที่ยอมรับ
ข้อเสีย บางโปรแกรมที่สามารถเล่นใด้ใน Windows XP ไม่สามารถเล่นได้ใน Windows 7

2.2 ยกตัวอย่างโปรแกรมสำหรับใช้จัดการฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมา 3 โปรแกรม พร้อมอธิบายคุณสมบัติเด่นๆ ของแต่ละตัว  
 
1.dbase สามารถส่งไปประมวลผลได้ ในโปรแกรม word processser
2.โปรแกรม Fox Pro คำสั่งและฟังชั่นต่างใน dbase จะสามารถใช้งานบนfox pro
3. โปรแกรม access สามารถเรียกดูฐานข้อมูลได้ง่าย

2.3 ยกตัวอย่างโปรแกรม ที่ใช้งานในสำนักงานทั่วไป ที่นักศึกษารู้จักมา 2 โปรแกรม ว่าแต่้ละโปรแกรมย่อยๆ อะไรพร้อมอธิบายคุณสมบัติเด่นๆ
1.โปรแกรม power point เป็นโปรแกรมที่สะดวกและง่ายต่อการนำเสนอ และสามารถตกแต่งได้สะดวก
2. โปรแกรม publisher เป็นโปรแกรมสร้างจดหมายต่างๆ เช่น แผ่นผับ หรือประชาสัมพันธ์



คำศัพท์

   1.   NIC (Network Interface Card) เป็น การ์ดที่เสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นชุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่ายหรือบางทีเรียกว่า แลนการ์ด (LAN Card) จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่น ได้
   2.   Protocol  โป รโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจาเป็นต้องใช้ภาษา หรือโปรโตคอลเดียวกัน เช่น OSI, TCP/IP, IPX/SPX เป็นต้น
   3.   NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่าย ของผู้ใช้แต่ละคน หรือเป็นตัวจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของ
เครือข่าย ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่เป็นที่นิยม เช่น Windows Server 2007, Novell NetWare, 
Sun Solaris และ Red Hat Linux เป็นต้น 
   4.  Server Computer คือ คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ เก็บบันทึก, คำนวณ, วิเคราะห์ และ แสดงผลของข้อมูลคอยให้บริการ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่เข้ามาขอใช้บริการงานต่างๆ ลักษณะการทำงานของมันจะถูกแบ่งหน้าที่ไปตามส่วนที่ให้บริการด้านต่างๆ เช่น เว็บ เซิร์ฟเวอร์, เซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล, ไฟล์ เซิร์ฟเวอร์, ปริ้น เซิร์ฟเวอร์ ฯลฯ
  5.Client คือเครื่องที่ไปขอใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก Server
 6.Coaxial Cable มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวี คือ มีแกนเป็นทองแดงห่อหุ้มด้วยฉนวน แล้วหุ้มด้วยตาข่ายโลหะ ชั้นนอกสุดเป็นวัสดุป้องกันสายสัญญาณ สายประเภทนี้นิยมใช้มากในเครือข่ายสมัยแรกๆ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เปลี่ยนเป็นการใช้สายคู่เกลียวบิดแทน(Twisted Pairs)
 7. Twisted Pairs  คือสายคู่บิดเกลียว  เป็นสายสัญญาณมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุดในระบบเครือข่ายปัจจุบัน สายสัญญาณจะประกอบด้วยสายทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นแล้วบิดเป็นเกลียว เหตุที่บิดเป็นเกลียวก็เพื่อลดสัญญาณรบกวนนั่นเอง  ได้แก่ สายสัญญาณโทรศัพท์ที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งจะมีสายทองแดงทั้งหมด 2 คู่ ส่วนหัวที่ใช้ต่อสายนี้จะเรียกว่า หัว RJ-11
8. RJ-11 คือ คอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับสายโทรศัพท์ เพื่อเชื่อมต่อจากผนัง (WALL) ไปยังอุปกรณ์โทรศัพท์หรือแฟกส์ และใช้สำหรับเชื่อมต่อสัญญาณ ADSL จากผนัง หรือ POTs splitter ไปยังอุปกรณ์ ADSL
 9.UTP (Unshielded Twisted Pair) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์ แต่มีคุณภาพดีกว่า โดยมีสายทองแดงทั้งหมด 4 คู่ ส่วนหัวเชื่อมต่อจะเรียกว่า หัว RJ-45
 10. RJ-45 คอนเน็คเตอร์แบบ RJ45 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวต่อ LAN ประกอบด้วยสายสัญญาณ 8 เส้น และมีขนาดของหัวใหญ่กว่า RJ11 ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับเครือข่าย Local Area Networks (LANs) สายเคเบิลแลนอาจมีทั้งแบบสายตรง (straight) (ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์รวมสัญญาณที่เรียกว่า HUB และเครื่องคอมพิวเตอร์) หรือสายแบบไขว้ (crossed) (ใช้สำหรับต่อระหว่าง hubs หรือ switches หรือระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีNetwork Interface Card (NIC) หรือการ์ดแลน เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่าย  สายเคเบิลแบบ RJ45 ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็ม หรือเราเตอร์แบบ ADSL กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเชื่อมต่อระหว่าง ADSL Router ไปยังอุปกรณ์รวมสัญญาณ (HUB) 
11.Fiber Optic  คือ สายใยแก้วนาแสง  คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เป็นสายที่ใช้แสงเป็นสัญญาณ และแก้วหรือพลาสติกใสเป็นสื่อนาสัญญาณ ภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่าเส้นผมของคนเรา แต่มีราคาแพง
12.Backbone หมาย ถึงสายส่งขนาดใหญ่ ในการนำข้อมูลจากสายขนาดเล็กกว่าเพื่อการเชื่อมต่อภายใน  ซึ่งในระดับ LAN โดย backbone เป็นสายหรือกลุ่มของสายซึ่งระบบต่อเชื่อมกับระบบ WAN หรือภายในระบบ เพื่อขยายประสิทธิภาพของระยะทาง  ในอินเตอร์เน็ตหรือระบบ WAN อื่น ๆ backbone เป็นกลุ่มของเส้นทางที่เครือข่ายต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อเข้ากับการเชื่อมโยงระยะไกล จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายคือ nodes หรือ telecommunication data switching exchange (DSEs)
13.Hub  ฮับ หรือบางทีก็เรียกว่า รีพีตเตอร์(Repeater) หรืออีกชื่อหนึ่ง Multiport-repeater คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง
 14.Bandwidth คำว่า Bandwidth นั้นเกิดจาก Band หมายถึง คลื่นความถี่ และ Width หมายถึง ความกว้าง รวมแล้ว Bandwidth คือ ความกว้างของคลื่นความถี่ เปรียบได้กับถนน ยิ่ง Bandwidth สูง การรับส่งข้อมูล เข้า ออก ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพสูง เป็นปริมาณการรับ และการส่งข้อมูล  (Data-Transfer)  หรือเราจะเปรียบเทียบกับมิเตอร์น้ำก็ได้  แต่มิเตอร์น้ำจะนับแค่ขาเข้า   แต่การคำนวณ Bandwidth จะคำนวณจากปริมาณข้อมูลทั้งขาเข้า และขาออก 
 15.Port คำว่าพอร์ตสำหรับวงจรดิจิตอลคือลักษณะ ของสายสัญญาณเส้นหนึ่ง ของวงจรๆ หนึ่ง เช่นใน IC ตัวหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่ในการส่งสัญณาณออก ไปซึ่งจะเรียกว่า เอาท์พุตพอร์ต (output) หรือถ้ารับสัญญาณเข้ามา ก็จะเรียก อินพุตพอร์ต (Input Port)
 16.Collision Domain คือการเชื่อมคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน คอมพิวเตอร์ทั้งหมดติดต่อสื่อสารกันได้และข้อมูลก็อาจจะเกิดการชนกันได้ ทำให้เกิดการรับส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง การแก้ไขการชนกันของข้อมูลนั้น ต้องใช้กฏกติกาการรับส่งข้อมูลเข้ามาช่วยเช่น CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access/Collision Detect) เป็นหนึ่งในกติกานั้น ซึ่งจะคล้ายกับสัญญาณไฟจราจรที่มีการหลีกเลี่ยงกันและกันในทางแยก (สำหรับในที่นี้จะไม่กล่าวถึงรายละเอียด) Collision Domain ส่วนมากมักจะเกิดจากเชื่อมต่อเข้าหากันด้วยอุปกรณ์ Hub ซึ่งในการเชื่อมต่อ Hub ต่อกันไปเรื่อยๆ ทั้งหมดจะอยู่ใน Collision Domain เดียวกัน ดังนั้นจะทำให้มี Collision Domain ขนาดใหญ่มากทำให้มีข้อมูลวิ่งเต็มไปหมดและมีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการรอคอยที่ยาวนานกว่าจะสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้ทำ ให้ มี Switch เข้ามาทดแทนดังในปัจจุบันนั่นเอง
17. Broadcast  คือ สถานีบริการหนึ่งสามารถส่งกระจายข่าวสารมัลติมีเดียไปให้กับผู้ขอใช้บริการ (client) ได้ทุกเครื่องบนเครือข่ายในขณะเดียวกัน เช่นถ้า เชิร์ฟเวอร์เป็นสถานีบริการทีวี ก็จะกระจายไปยังผู้ชมที่อยู่บนเครือข่ายได้ทุกคน เป้าหมายที่สำคัญต่อมาคือ ต้องการให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์ได้ หรือโต้ตอบกลับได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ ผู้ชมสามารถร่วมเล่นเกมโชว์จากทางบ้านได้
 18.Active HUB คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางรวมสายเชื่อมโยงจากคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์นี้จะรับส่งสัญญาณกับคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วยขยายสัญญาณ มักใช้ในเครือข่ายแบบ Token Ring ซึ่ง Active HUB จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณ ที่ส่งมาทำให้สามารถสัญญาณได้ไกลขึ้น โดยจะทำการสร้างสัญญาณที่ได้รับขึ้นมาใหม่ และทำการส่งสัญญาณออกไปและต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน ซึ่งฮับส่วนใหญ่แล้วจะเป็นฮับชนิดนี้
 19. Passive HUB  คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในรับและส่งผ่านข้อมูล เป็นฮับที่ไม่มีการขยายสัญญาณใดๆ ที่ส่งผ่านมา มีข้อดีคือราคาถูกและไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
20. Switch คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ใสเลเยอร์ที่ 2 Switch บางทีก็เรียกว่า Switching Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Switch เพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง  Switch สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่า นั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกัน และกันได้ในเวลาเดียวกัน การทำเช่นนี้ทำให้อัตราการส่งข้อมูล หรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Switch คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับแบนด์วิธของ Switch ด้วยข้อดีนี้เครือข่ายที่ติดตั้งใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใช้ Switch มากกว่า Hub เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย
 22.Repeater  ทำหน้าที่ทวนสัญญาณ คือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย LAN ให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพี้ยนไปให้กลับเหมือนเดิม จากนั้นจึงค่อยส่งต่อไป แต่ข้อจำกัดของรีพีตเตอร์ คือ มันจะทำงานในระดับต่ำ โดยไม่สนใจสัญญาณที่ส่งว่าเป็นข้อมูลอะไร จากไหนถึงไหน รู้แต่ว่าถ้ามีสัญญาณเข้ามาทางฟากหนึ่งก็จะขยายแล้วส่งต่อออกไปยังอีกฝาก หนึ่งให้เสมอ ไม่สามารถกลั่นกรองสัญญาณที่ไม่จำเป็นออกไปได้ ดังนั้นรีพีตเตอร์จึงไม่ได้มีส่วนช่วยจัดการจราจรหรือลดปริมาณข้อมูลที่ส่ง ออกมาบนเครือข่าย LAN 
23.Bridge  เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะ ใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน  (LAN Segments)   เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น
24.Router  คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ 3 หรือเลเยอร์เครือข่าย Router จะฉลาดกว่า Hub และ Switch  Router จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว(Header) ของแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนด หรือเลือกเส้นทางที่จะส่งแพ็กเก็ตนั้นต่อไป ใน Router จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้แพ็กเก็ต เรียกว่า Routing Table หรือ ตารางการจัดเส้นทาง ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นข้อมูลที่ Router ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง ถ้าเส้นทางหลักเกิดขัดข้อง Router ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้นอกจากนี้ Router ยังสามารถส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกันได้ โปรโตคอลที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เช่น IP (Internet Protocol), IPX(Internet Package Exchang) และ Apple Talk เป็นต้น นอกจากนี้ Router ยังสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล(WAN) ได้ และยังสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับเครือข่ายอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

25.Gateway เป็น อุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้ 
26. Network Layer  คือชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน
27. ASCII เป็นรูปแบบปกติของไฟล์ข้อความ (text file) ในคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต ในไฟล์ ASCII อักษรแต่ละตัว ตัวเลข หรืออักษรพิเศษ จะได้รับการแสดงด้วยตัวเลขฐานสอง ซึ่งสามารถใช้ระบุตัวอักษรได้ 128 ตัว
 28.EBCDIC  เป็น binary code สำหรับตัวอักษรพยัญชนะและตัวเลข ซึ่ง IBM พัฒนาสำหรับระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ โดยเป็นรหัสสำหรับไฟล์ข้อความที่ใช้กับระบบปฏิบัติการ IBM OS-390 สำหรับเครื่องแม่ข่าย S/390 และบริษัท จำนวนมากใช้กับโปรแกรมประยุกต์ legacy application และฐานข้อมูล ในไฟล์ EBCDIC ตัวอักษรพยัญชนะและตัวเลขได้รับการนำเสนอเป็นเลขฐานสอง 8 บิต ( 8 ตัวอักษรของ 0 และ 1) มีตัวอักษร 256 ตัว ได้แก่ ตัวพยัญชนะ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษ
 29.SNA (System Network Architecture)  เป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM นับเป็น สถาปัตยกรรมทางการค้ามากกว่าที่จะเป็นสถาปัตยกรรมมาตราฐานสากล เช่น สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI แต่อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่ใช้เครืองคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ และเครื่อง PC ของบริษัท IBM และรูปแบบของโครงสร้าง และโปรโตคอลของสถาปัตยกรรม SNA ก็ถือว่ามีรูปแบบที่ได้ กำหนดไว้ชัดเจน และใช้งานจริงอยู่ในปัจจุบัน
 30.Host  คือการเช่าพื้นที่เว็บไซต์ หากคุณต้องการมีเว็บไซต์ ก่อนอื่นคุณต้องจดโดเมนเนมก่อน จากนั้นคุณต้องจ้างให้คนทำเว็บให้ แล้วจึงเช่า Host เพื่อเก็บเว็บไซต์ คุณสามารถเช่า Host พร้อมจดโดเมนเนมได้ (โดเมนเนมคือชื่อเว็บไซต์เช่น www.jaideehosting.com เว็บไซต์ของ jaideehosting ) หากคุณเช่า Host และ จดโดเมนเนมที่เดียวกัน คุณก็สามารถใช้เว็บไซต์ได้ทันที  สรุปแล้ว Host คือการให้บริการรับฝากเว็บไซต์ โดย ราคานั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ หากคุณใช้พื้นที่ทำเว็บไซต์น้อย คุณก็เช่า Host
โดยเลือกพื้นที่ Host ไม่ต้องมากนักเป็นต้น หากคุณใช้อีเมล์ คุณก็ต้องเลือก Host ที่มาพร้อมกับอีเมล์ 
31. Protocol  เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า โปรโตคอลเป็น ภาษา ที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกัน
32.OS (Operating System) ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ ของโปรแกรมที่รัยบนคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจา ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ก็จะรันโปรแกรมต่างๆ ไม่ได้
33. NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย  ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย และการเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ฐานข้อมูล เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าเครือข่ายจาเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท เพื่อที่ตะทาหน้าที่ทั้งจัดการภายในคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์