วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Network

ประวัติส่วนตัว 


ชื่อ นายณัฐพล มณีวรสิทธิ์
ชื่อเล่น  นัท
รหัสนักศึกษา 2551051641142
วันเกิด 2 พฤษจิกายน  พ.ศ 2536
อายุ 18 
จบมาจาก โรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก
คติดประจำตัว  อดีตไม่สำคัญ ปัจจุบันดีที่สุด
Facebook nattapon maniuaorasit
E-mail  nusza_301@hotmail.com
Tel  087-3616320




แบบทดสอบก่อนเรียน

รหัสวิชา: BIT วิชา : Computer Network

1. จงให้คำนิยามของคำศัพท์ต่อไปนี้


1.1 Internet/Intranet/Extranet
อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่า
อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น 
Extranet คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ 
1.2 Modem
โมเด็มมาจากคำว่า MOdulator/DEModulator โดยแยกการทำงานออกเป็น Modulation คือการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอะนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ และ Demodulation คือการเปลี่ยนจากสัญญาณอะนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอะนาลอกอยู่ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้าของ โทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kbps ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น  
1.3 Switch/Hub
Hub Switch หน้าที่หลักจะเหมือนกันคือ เชื่อมต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่คนละที่
สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ พูดง่ายๆ ก็คือเป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบเครือข่าย
เข้าด้วยกัน
Hub จะทำงานที่ Layer 1 ทำหน้าที่ทวนซ้ำสัญญาณ เช่น ในระบบเครือข่ายมี PC 10 เครื่อง
เมื่อ PC1 ต้องการส่งข้อมูไปยัง PC5 ในขณะนั้น PC อื่นๆ จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้
Switch จะทำงานที่ Layer 2 จะทำงานเหมือนกับ Hub แต่ ขณะที่ PC1 ส่งข้อมูลไปยัง PC5
PC อื่นๆ จะยังสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมๆ กัน 
1.4 DHCP Server
DHCP server Dynamic Host Configuration Protocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการกำหนด IP Address อัตโนมัติแก่เครื่องลูกข่ายบนระบบ ที่ติดตั้ง TCP/IP สำหรับ DHCP server มีหน้าที่แจก IP ในเครือข่ายไม่ให้ซ้ำ เป็นการลดความซ้ำซ้อน เมื่อเครื่องลูกเริ่ม boot ก็จะขอ IP address, Subnet mark, หมายเลข DNS และ Default gateway 
1.5 ADSL Router
ADSL Router คืออุปกรณ์เชื่อมต่อ ADSL มีคุณสมบัติในการแชร์อินเทอร์เน็ตภายในองค์กร เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เราเตอร์มาพร้อมกับพอร์ต RJ45 ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่ายเช่น HUB หรือ SWITCH หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยเชื่อมต่อผ่านสาย UTP หรือที่เรียกว่าสายแลน
เราเตอร์ Billion รุ่น Bipac 711c มีพอร์ต LAN และพอร์ต USB ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้กับเครือข่ายหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ผ่านทางพอร์ต USB ก็ได้ 
1.6 ISDN
หมายถึง Integrated Service Digital Network คือบริการสื่อสารร่วม หมายถึงสามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน ในระบบดิจิตอล ทำงานโดยการหมุนโทรศัพท์ผ่านคู่สาย ISDN ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 64 kbps - 128 kbps (สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 2 วงจร หรือ 2 sessionพร้อมกัน) และเนื่องด้วย ISDN เป็นการสื่อสารในระบบดิจิตอล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ระบบจึงไม่มีสัญญาณรบกวน 
1.7 LAN/MAN/WAN
LAN ย่อมาจากคำว่า (Local Area Network)
-ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เป็นระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ใช้เชื่อมต่อกันในระยะไม่ไกลมากนักโดยปกติมักเชื่อมต่อกันในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตรคือเป็นระบบเน็ตเวิร์กที่อยู่ภายใต้อาคารเดียวกันหรือต่างอาคารในระยะใกล้ๆ และไม่ต้องใช้เครือข่ายการสื่อสารขององค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย

MAN ย่อมาจากคำว่า (Metropolitan Area Wetwork)
-ระบบเครือข่ายขนาดกลาง เป็ระบบเน็ตเวิร์กที่ต้องอาศัยโครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นการติดต่อกันในระดับเขต แต่เป็นระบบเน็ตเวิร์กในระยะไม่เกิน 50 กิโลเมตร

WAN ย่อมาจากคำว่า (Wide Area Network)
-ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ หรือติดตสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยทั่วไปเรียกว่า world wide web สามารถส่งได้ทั้ง ข้อมูล ภาพและเสียง โดยจะต้องใช้ media ในการติดต่อสื่อสารโดยจะต้องใช้ คู่สายโทรศัพท์ dial - up line คู่สายเช่า leased line / ISDN
ขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงจะสามารถใช้อย่างสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ 
1.8 Firewall
Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการ
กำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอง 
1.9 Topology แบบ Bus
การเชื่อมต่อแบบบัส (BUS TOPOLOGY) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS หรือ TRUNK ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้ 

ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบนี้คือ ใช้สายสัญญาณน้อย และเชื่อมต่อได้ง่าย ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ทั้งสายสัญญาณ การติดตั้งและการบำรุงรักษา สามารถเพิ่มโหนดได้ง่าย เพราะมีโครงสร้างแบบง่าย มีความเชื่อถือได้ เพราะใช้สายสัญญาณหลักเพียงเส้นเดียว
ข้อเสีย คือเมื่อเกิดข้อผิดพลาด จะหาจุดตรวจสอบได้ยาก เพราะไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง และในกรณีที่ สายสัญญาณบัสเกิดชำรุดเสียหาย ระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ 
1.10 TCP/IP
ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet Transmission Control Protocol/Internet Protocolโปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่าง แพร่หลายตามการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต/อินทราเน็ต ความจริงแล้วโปรโตคอลTCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอลหลายตัว ที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งาน โดยมีคำเต็มว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol ซึ่งจากชื่อเต็มทำให้ เราเห็นว่าอย่างน้อยก็มีโปรโตคอลประกอบกันทำงานร่วมกัน 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP
ตัวอย่างของกล่มโปรโตคอลในชุดของ TCP/IP ที่เราพบและใช้งานบ่อย ๆ เช่น Internet Protocol (IP) , Address Resolution Protocol (ARP), Internet Control Message Protocol (ICMP), User Datagram Protocol (UDP) , Transport Control Protocol (TCP),Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และ Domain Name System (DNS) เป็นต้น
โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ Internet Protocol (โปรโตคอล IP) เนื่องจาก เมื่อโปรโตคอลอื่น ๆ ต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล (encapsulation) ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง(route service) ผ่าน Gateway หรือ Router เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทาง จะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้น และด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก IP ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารุระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้ (routable) 


2. จงยกตัวอย่างสื่อนำสัญญาณที่รู้จักมา 3 อย่างพร้อมอธิบายพอสังเขป
- 1.สายโคแอ็กเชียลแบบบาง (Thin Coaxial cable) 
สายโคแอ็กเชียลแบบบาง เป็นสายขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.64เซนติเมตร สายประเภทนี้มีขนาดเล็ก จึงมีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้ได้กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สามารถใช้นำสัญญาณได้ไกลถึง 186 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลังลง 
2สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) 
สายคู่บิดเกลียว เดิมเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่จากการพัฒนาเทคโนโลยี Ethernet และได้ทำการทดลองปรับปรุงสายโทรศัพท์ให้มีคู่สัญญาณเพิ่มเป็น 4 คู่ และจากการวิจัยพบว่าหากบิดสายแต่ละคู่ ให้เป็นเกลียวด้วยระยะที่เหมาะสม จะทำ
ให้สัญญาณจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รบกวนซึ่งกันและกันลดน้อยลง สายคู่บิดเกลียวมีแกนกลางเป็นสายทองแดงขนาดเล็ก หุ้มด้วยฉนวน 
สายคู่บิดเกลียวที่ใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
1. สายคู่บิดเกลียวหุ้มฉนวน (STP : Shielded Twisted Pairs) 
2. สายคู่บิดเกลียวไม่หุ้มฉนวน (UTP : Unshielded Twisted Pairs) 
3.1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) 
สายสัญญาณที่ใช้กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน มี 2 ประเภท โดยแบ่งตามชนิดของตัวนำที่ใช้ ประเภทแรก คือ แบบที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ และประเภทที่ไม่ได้ใช้โลหะ สายแบบที่ใช้โลหะ เช่น สายคู่บิดเกลียว และสายโคแอ็กเชียล โดยปัญหาของสายที่ใช้โลหะเป็นตัวนำสัญญาณ คือ สัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตสนามแม่เหล็กต่างๆ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า บัสหลาสที่ใช้กับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือสนามแม่เหล็กจากฟ้าผ่า 

3.สื่อไร้สาย (Wireless) 
นอกจากการใช้สายสัญญาณเป็นสื่อกลางนำสัญญาณแล้ว อากาศก็เป็นสื่อนำสัญญาณได้เช่นกัน โดยจะเรียกว่า เครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) ข้อมูลจะแปลงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และส่งไปพร้อมกับแถบความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Spectrum)คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสัญญาณที่ใช้ส่งข้อมูลในทุกๆ การสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นสาย 
 แถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 
แถบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเริ่มต้นที่ความถี่ศูนย์เฮิร์ตซ์ (Hz) ไปจนถึง 10ยกกำลัง24 Hzความถี่ จะเริ่มจากเสียง มีความถี่ประมาณ 0 - 10 kHz โดยการได้ยินเสียงของคนส่วนใหญ่ได้ยินจะอยู่ในช่วงความถี่ประมาณ 3 - 4 kHz คลื่นความถี่ที่สูงขึ้นจะเป็นคลื่นวิทยุ(Radio Frequency) มีช่วงความถี่ประมาณ500 kHZ-300 GHz โดยความถี่ของเครื่องไมโครเวฟที่ใช้ตามบ้านจะอยู่ในช่วงนี้ด้วย


3. จงบอกประโยชน์ของระบบเครือข่ายมา 5 ข้อ
- ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง 
สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น 
สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (Business Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
ความเชื่อถือได้ของระบบงาน 
นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที 
ความประหยัด
นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน


4. จงออกแบบระบบเครือข่ายสาหรับร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ เพื่อรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 20 เครื่อง




 คำศัพท์  Computer Network



1.)  Video Teleconference  หมายถึง  การประชุมทางไกลโดยระบบการติดต่อสื่อสารใช้ระบบอินเตอร์เนตเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งผู้ประชุมจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในเวลาเดียวกัน
2.)   Data Ware-house  หมายถึง   ระบบการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร (มักเป็นองค์กรขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ เช่น กรมสรรพสากร) โดยข้อมูลเหล่านั้นมักเป็นข้อมูลกระจัดกระจาย ให้มารวมไว้เป็นศูนย์กลางข้อมูล ขององค์กร
3.)   Geographic Information System  หมายถึง   ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยาย (attribute data) และสารสนเทศเช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ตำแหน่ง เส้นรุ้ง ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล
4.)   Laptop Computer  หมายถึง   เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถขนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวก ประสิทธิภาพของแล็ปท็อปโดยทั่วไปจะพอกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบปกติ ในขณะที่ราคาจะสูงกว่า โดยส่วนที่จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือ จอภาพจะเป็นลักษณะจอ LCD และจะมีทัชแพดที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของลูกศรบริเวณหน้าจอ
5.)  Executive Information Systems   หมายถึง   ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับ ผู้บริหารเนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะด้านระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล
6.)  ATM   หมายถึง  ย่อมาจาก Asynchronous Transfer Mode ซึ่งภายใต้การส่งข้อมูล แบบ  ATM นี้ ข้อมูลหลายๆ ประเภท (ตัวอย่างเช่น เสียง ภาพ หรือตัวอักษร และตัวเลข) จะถูกส่งไปในรูปของ หน่วยข้อมูลที่เรียกว่า Cells ที่มีความยาว คงที่ตลอด (แทนที่จะ ถูกส่งในลักษณะของ “กลุ่ม” ข้อมูล (packets) ที่มีความยาว หลากหลายไม่คงที่ ซึ่งใช้กันใน เทคโนโลยีเช่น Ethernet และ Fiber Distributed Data Interface หรือที่เรียกว่า FDDI)
7.)  ARP  หมายถึง  เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งตามไอพีแอดเดรสที่ระบุ (ไอพีแอดเดรสเป็นตัวที่ใช้บ่งบอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเน็ตเวิร์ก แต่ไอพีแอดเดรสจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า MAC Address นั่นคือไอพีแอดเดรสอยู่ในระดับที่ห่างไกลจากระดับการทำงานทางกายภาพ เช่น การส่งสัญญาณไฟฟ้ามากกว่า MAC Address)
8.)  PPP (Point to Point Protocol)  หมายถึง  PPP เป็นโปรโตคอลแบบจุดต่อจุดชนิดหนึ่ง มักใช้กับเครือข่าย WAN ซึ่ง PPP ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อชดเชยข้อบกพร่องหลายอย่างของโปรโตคอล SLIP เช่น SLIP ไม่สามารถรับรองความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และไม่สามารถกำหนดไอพีแอดเดรสโดยอัตโนมัติได้ เป็นต้น
9.)  IP (Internet Protocol)  หมายถึง  IP เป็นโปรโตคอลในระดับชั้นเน็ตเวิร์ก ซึ่งทำหน้าที่กำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวที่บ่งบอกให้เร้าเตอร์ทราบว่าควรจะส่งแพ็กเก็ตนี้ไปเส้นทางใด
10.)  ICMP  หมายถึง  เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการแจ้งข้อผิดพลาดและปัญหาที่เกิดจากการลำเลียง IP Address ซึ่งภายในแพ็กเก็ต ของ ICMP จะบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับข้อผิดพลาดและปัญหาที่เกิดขึ้น
11.)  PCMCIA : มาตราฐานอินเตอร์เฟสเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook 
12.) Repeater : อุปกรณ์ทวนสัญญาณ 
13.) Router : อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบเครือข่ายและค้นหาเส้นทางในการส่งข้อมูลโดยใช้หมายเลข IP Address 
14.) Sever : เครื่องคอมที่ถูกกำหนดให้ดูแลจัดการทรัพยากรต่างๆบนระบบเครือข่าย 
15.) STP : สายสัญญาณตีเกลียวแบบหุ้มฉนวน 
16.) Bugความหมาย : จุดบกพร่องหรือความผิดพลาดในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
: ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคำสั่งในโปรแกรม ปัญหาดังกล่าวทำให้การทำงานของโปรแกรมไม่ถูกต้องและมีข้อผิดพลาด นอกจากนี้ปัญหาความผิดพลาดอาจเกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน
17.) browserความหมาย : เบราเซอร์, ชื่อเรียกไคลเอ็นต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเรียกดูเอกสาร HYPERTEXT หรือ โปรแกรมเรียกดูเว็บไซต์
18.) busความหมาย : คือ วงจรทางเดินไฟฟ้า สำหรับเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูล จากอุปกรณ์หนึ่งไปสู่อุปกรณ์หนึ่ง หรือจากจุดหนึ่งไปยังจุดที่ต้องการ
19.) Multimedia ความหมาย : สื่อประสม, สื่อหลายแบบ คือ การใช้สื่อหลาย ๆ ประเภทร่วมกันเช่นสื่อการสอนที่มีการนำเสนอด้วยภาพและเสียง พร้อมทั้งมีคำอธิบายด้วย
20.) Keywordความหมาย : คือ คำที่มีความหมายพิเศษสำหรับบางโปรแกรม เช่นคำที่เราต้องการค้นหาข้อมูลใน Search Engine
21.)  MIME ย่อมาจาก Multipurpose Internet Mail Extensions หมายถึง มาตรฐานสำหรับระบุชนิดของข้อมูล ซึ่งถูกคิดค้นมาเพื่อการแนบไฟล์ไปกับอี-เ มล์ (E-mail) แต่ต่อมาถูกใช้ในหลายๆ งาน เช่น ระบบเวบ (Web) ด้วย เช่น เท็กซ์/เอชทีเอ็มแอล (text/html) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และเป็นข้อมูล HTML
22.)  SLIP หรือ Serial Lind Internet Protocol หมายถึง ข้อกำหนด หรือวิธีของการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตแบบอนุกรม โดยผู้ใช้หรือบริษัทใช้สายโทรศัพท์และโมเด็ม (Modem) โดยไม่ต้องผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Host computer) เพื่อเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตการเชื่อมโยง “SLIP” ต้องเช่าจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)
23.)  TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol หมายถึง กฏเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันในระบบอินเตอร์เนต ให้ติดต่อกันได้โดย IP ทำหน้าที่แยกข่าวสาร (Message) เป็น Package ย่อยๆ ส่วน TCP ทำหน้าที่จัด และรวม packets ทั้งหมดเป็นข่าวสาร
24.)  VOIP  ย่อมาจาก Voice Over IP หรือ Voice Over Internet Protocol หมายถึง เทคโนโลยีส่งข้อมูลแบบเสียง โดยนำข้อมูลเสียงมา แปลงให้อยู่ในรูปของ Packet แบบ IP แล้วส่งไปในเครือข่าย
25.)  CAD ย่อมาจาก Computer Aided Design หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบหรือเขียนแบบเครือข่าย

26.)Full duplex : กลไกการรับและส่งข้อมูลบนเส้นทางเดียวกันได้ในเวลาพร้อมกัน 
27.)Gateway : อุปกรณ์การเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายที่มีการใช้ โปรโตคอล และ โครงสร้างระบบที่แตกต่างกัน ให้สามารถสื่อสารติดต่อกันได้ ( Gateway สามารถแปลงจากโปรโตคอลหนึ่งให้เป็นอีกโปรโตคอลหนึ่งได้) 
28.)Hop : จำนวน ( link ) ที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ 
29.)Hub : อุปกรณ์ระบบเครือข่ายทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์มีลักษณะการสื่อสารแบบ Haft duplex 
30.)IEEE : สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้า และ อิเล็กทรอนิกส์ 
31.  GATEWAY
คอมพิวเตอร์ตัวกลางในการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากเครือข่ายหนึ่ง ไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง

32.  GUEST BOOK

สมุดลงนาม ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั้น ๆ ที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม เป็นช่องทางแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง

33.  HOME PAGE

เอกสารหน้าแรก (หน้าแนะนำตัว) ของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ ของ web site ต่างๆ  

34.  HOST

คอมพิวเตอร์หลัก ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล เช่น Host ของ web site ต่างๆ 

35.  HTML

Hypertext Makrup Language ภาษาพื้นฐานสำหรับการสร้าง web ถือได้ว่าเป็นภาษาสากลสำหรับ web page 

36.  INTERNET

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระดับโลก

37.  ISDN

Integrated Service Digital Network มาตราฐานการติดต่อความเร็วสูงอย่างหนึ่ง เพื่อใช้ส่งสัญญาณเสียง วีดีโอ ทางสายดิจิตอล

38.  ISP

Internet Service Provider บริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต

39.  JAVASCRIP, JAVA APPLET

เป็นภาษาหนึ่งที่ใช้สำหรับการสร้างและตกแต่งเอกสารบน เวิลด์ ไวล์ เว็บ
40.  ADDRESS
แปลตรงตัวหมายถึงที่อยู่ อาจหมายถึงที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์

41.  UTHORING TOOL
เครื่องมือใช้ในการสร้างเอกสารจำพวก HTML เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ใน www

42.  BACKBONE
การเชื่อมต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูง สามารถเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย

43.  BRIDGE
เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่ใช้สำหรับส่งต่อข้อมูลระหว่างสองระบบ หรือเครือข่าย ทำหน้าที่ส่งผ่าน package เท่านั้น

44.  BROSWER
โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่ Internter Explorer, Netscape, Opera


45.  CLIENTS

คอมพิวเตอร์ลูกข่าย ที่เข้ามาขอใช้ข้อมูลจาก server ผ่านทางระบบเครือข่าย

46. COMPOSE

การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email

47. DIAL UP

การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์

48. DNS

Domain Name Server การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรศ บนระบบเครือข่าย TCP/IP หรือใน internet

49.  DOMAIN

กลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บนเครือข่าย


50.  FTP

File Transfer Protocal มาตราฐานการส่งผ่านข้อมูล จากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งบน เครือข่าย TCP/IP



การเชื่อต่อเครือข่ายขนาดเล็กด้วยโมเด็ม

การเชื่อต่อแบบนี้เป็นการติดต่อที่ง่ายที่สุดและถูกท่สุด ในการสร้างเครือข่ายระบบนั้น เราเพียงกำหนดแค่สองส่วน คือ “IP Address” ของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แล้วเชื่อมต่อด้วย Hub กับ Switch โดยจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่อกับโมเด็มอยู่แล้ว เป็นเครื่องที่เชื่อมต่อไปยังเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วทำการเปิดบริการ Internet Connection Sharing (ICS) เพื่อทำการแชร์อินเทอร์เน็ตให้เครื่องลูกข่ายภายในเวิร์กกรุ๊ป (Workgroup) เดียวกัน การเชื่อมต่อลักษณะนี้เหมาะสมสำหรับองค์การที่มีแผนกเดียว





การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดกลางด้วย ADSL Router
เป็นระบบเครือข่ายที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก และอาจมีการแบ่งเครือข่ายเป็นส่วนย่อย ๆตัวอย่างเช่น ระบบธนาคาร, บริษัทปูนซีเมนต์ไทย ,บริษัทการบินไทย ,บริษัทไอบีเอ็ม,กรมสรรพากร, เป็นต้น ในการออกแบบระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีความสลับซับซ้อนมากและคำนึงถึงระบบความปลอดภัยเป็นหลัก




ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่

ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีเครื่องลูกข่ายเป็นจำนวนมาก และอาจมีการแบ่งเครือข่ายส่วนย่อยๆด้เช่น บริษัทสายการบิน, ธนาคาร, กรมสรรพากร, บริษัทปูนซีเมนต์ไทย เป็นต้น ในการการออกแบบระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีความซับซ้อนมากและต้องคำนึงถึงระบบความปลอดภัยเป็นหลัก

การออกแบบระบบเครือข่ายขนาดใหญ่โดยใช้ Router

ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนพอสมควร แต่ละบริษัทจะมีการออกแบบที่ไม่เหมือนกันโดยทั่วไประบบเครือข่ายขนาดใหญ่จะมีการแบ่งกันอย่างชัดเจน ระหว่างห้องเซิร์ฟเวอร์ (Server Farm) และส่วนของฝั่งลูกข่าย (Client)
ระบบขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีสาขาย่อยตามต่างจังหวัด เชื่อมต่อมายังหน่วยงานกลางที่กรุงเทพฯ ผ่านทางสื่อที่เรียกว่า เร้าเตอร์ (Router) การใช้เร้าเตอร์ต้องมีการเช่าสัญญาณ Leased Line ด้วย









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น